เรื่อง เสพภาษาอย่างเพลิดเพลิน
เมื่อสมัยก่อนครูเคยสอน reading comprehension ให้นักเรียน เราก็แทบไม่ได้สอนวิธีทำข้อสอบ แต่เนื้อหาเกิน 90% ที่เราสอน เราสอนแบบนี้ คือเอา passages มาให้นักเรียนอ่าน แล้วมองหา “จุดที่ต้องเรียนรู้” นั่นก็คือ
1. คำศัพท์ตัวไหนแตกกระจายออกไปเป็น derivatives อันไหนบ้าง
2. มองหา Greek and Latin roots ในคำศัพท์ที่เจอ แล้วพยายามดูว่า Greek and Latin roots พวกนั้นเวลาผันไปมันผันไปหน้าตากลายเป็นแบบไหนบ้าง เพื่อช่วยในการจดจำศัพท์ และช่วยเดาความหมายได้เวลาเจอศัพท์ที่ไม่เคยเห็น
3. มองหาคำศัพท์ที่แปลคำโดดๆไม่ได้ แต่ต้องแปลเป็นกลุ่มคำ (collocation) แล้วเราพยายามใช้คำศัพท์ตัวเดียวเขียนประโยคพลิกแพลงให้มากที่สุด (ให้คำศัพท์เปลี่ยนความหมายไปเรื่อยๆตาม collocation) ให้นักเรียนเห็นเพื่อเอาไปจัดหมวดหมู่ไว้ ซึ่งทำ cross-references โยงแนวคิดถึงกันได้
4. ดูประเด็นของ grammar ในจุดที่ถ้าไม่รู้ grammar ก็ตีความไม่ได้
5. เวลาจดศัพท์จดศัพท์ตัวเดียวบนกระดาษ 1 แผ่น เนื้อหาที่จดมี คำศัพท์ Greek and Latin roots ตัวอย่างประโยค และ cross-references โยงไปหาศัพท์ตัวอื่นที่คล้ายกันเช่นมาจาก Greek and Latin roots เดียวกัน หรือใช้ใน sentence structure คล้ายๆกัน หรือมีความหมายคล้ายกันหรือตรงกันข้ามกัน
6. พอจดศัพท์ใหม่ก็เอาเข้าไปใส่แฟ้ม แล้วเรียงตามตัวอักษร ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่าเมื่อแรกเริ่มนักเรียนจดบนสมุดมั่วไปหมดแล้วเวลาจะสอนทวนศัพท์ตัวไหน นักเรียนหา notes ไม่เจอ
แต่นั่นมันเป็นสมัย computer ยังไม่เก่งเราจึงสอนนักเรียนเรียนและจด notes บนกระดาษ แต่สมัยนี้พอ computer มันเก่งมากๆ เราพัฒนาความคิดเราใหม่กลายเป็นทำบน computer software อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เราเผอิญเลิกสอนภาษาอังกฤษไปแล้ว เราเลยเก็บวิธีการแบบนี้เอาไว้สอนตัวเอง ซึ่งพัฒนากลายเป็น สอน reading comprehension พร้อมๆกับสอน writing ให้ตัวเอง ทำให้ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของเรากระโดดก้าวไปไกลมากๆ ขนาดเมื่อก่อนเรารับงานแปลเอกสารแค่หน้าละ 200-300 บาทเอง แต่สมัยนี้เรารับหน้าหนึ่ง 800 – 1,500 บาท แล้วก็มีงานแปลที่ราคาแพงๆเข้ามาให้ทำอยู่เรื่อยๆ
นานๆทีถ้ามีคนจะเรียนภาษาอังกฤษด้วยเราถึงสอนให้ตัวต่อตัว แต่ไม่ได้ทำเป็นธุรกิจใหญ่เหมือนแต่ก่อน
สรุปแล้ว เราให้เวลาแค่ 10% หรือน้อยกว่านั้น ในการเอาข้อสอบเก่าๆมาให้นักเรียนฝึกทำ เมื่อสมัยเราสอน reading comprehension ซึ่งในการฝึกทำข้อสอบส่วนใหญ่ก็เป็นการสอน reductio ad absurdum คือการใช้ตรรกะขจัดข้อที่ผิดออกไปทีละข้อจนเหลือข้อที่ถูก และสอนให้นักเรียนสังเกตว่า ตรงจุดไหน grammar เป็นตัวตัดสิน ยกตัวอย่างเช่นประโยคบางประโยคถ้าคุณไม่รู้ว่า verb ตัวสำคัญเป็นได้ทั้ง transitive verb และ intransitive verb คุณอ่านไปให้ตายก็ไม่มีทางอ่านเข้าใจ