การเตรียมสอบ TOEIC IELTS TOEFL CU-Tep – วิธีจดจำคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ
จาก TCiAP TOEIC Homeroom วันนี้ นำเสนอ
วิธีจำคำศัพท์ได้นาน โดยไม่ต้องท่อง!!
เมื่อพูดถึงการสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ อย่างเช่น TOEIC แล้ว อีกสิ่งที่จะต้องนึกถึงต่อมาเลยก็คือ คำศัพท์
นศ. เรียนภาษาอังกฤษกันมาตั้งแต่เด็กๆ ตั้งแต่อนุบาล ผ่านคำศัพท์มามากมาย
แต่ปัญหาก็คือ ทำไม ถึงยังจำคำศัพท์พวกนั้นไม่ได้สักที??
นศ. อาจจะเคยเจอสถานการณ์แบบนี้…….
– คำศัพท์คำนี้เคยเจอบ่อยๆ ในข้อสอบ TOEIC คุ้นมากๆ แต่จำไม่ได้??
– คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน จะจำสลับกัน เช่น except-accept-expect ศัพท์คำไหนแปลว่า ยอมรับ คาดหวัง หรือยกเว้น โดยศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน มักจะถูกนำมาใช้เป็นคำตอบลวง ในแทบจะทุก Part ของข้อสอบ TOEIC ??
– ก่อนเข้าสอบ TOEIC ท่องศัพท์ผลัดกันกับเพื่อน ฉันบอกคำนี้แล้วเธอแปลนะ หรือท่องเองโดยเอามือปิดคำแปลไว้แล้วท่อง พอเข้าไปสอบ TOEIC เสร็จ ออกมาปุ๊บลืมคำศัพท์ที่ท่องหมด ??
– ขี้เกียจท่องศัพท์ เพราะมันเยอะมาก ข้อสอบ TOEIC ก็อัพเดทแทบทุกสัปดาห์ ศัพท์ใหม่อุบัติขึ้นแทบทุกวัน ท่องไปยังไง ก็ลืม ??
ซึ่งสาเหตุที่เราจำศัพท์ไม่ได้ก็เพราะ วิธีการท่องนั้น จัดว่าเป็น “ความจำระยะสั้น”
ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราว ไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวน ความทรงจำก็จะลบเลือนไป
นศ. เคยคิดบ้างไหมว่า เราท่องศัพท์มาตั้งแต่เด็ก แต่เราสามารถจำได้แค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
“นักวิจัยและนักจิตวิทยาได้ทำการวิจัยและพบว่า การท่องศัพท์แบบทวนซ้ำไปมา (Repeat) เป็นการป้อนข้อมูลเข้าหน่วยความจำใน “ระยะสั้น” เท่านั้น”
เราต้องเปลี่ยนความจำระยะสั้น ให้เป็นความจำระยะยาว จึงจะจำได้ระยะยาว
ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) หมายถึง ความจำที่ถูกทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้น เป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิต
สรุปแล้วก็คือ วิธีการจำคำศัพท์ให้จำขึ้นใจ จำได้ระยะยาวโดยไม่ต้องท่อง ก็คือ
1. จดคำศัพท์ไว้ในสมุด ให้เป็นระเบียบ และจดหน้าที่ของคำ (Part of Speech) กำกับไว้ด้านท้ายของคำศัพท์ด้วย
เช่น
compare (v.) = เปรียบเทียบ
explain (v.) = อธิบาย
2. คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกันให้เขียนไว้ใกล้ๆ กัน หรือคำศัพท์ตระกูลเดียวกันให้จดไว้ด้วยกัน
เช่น
คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน
except (prep.) = ยกเว้น
accept (v.) = ยอมรับ
expect (v.) = คาดหวัง
คำศัพท์ตระกูลเดียวกัน
critic (n.) = นักวิจารณ์
critical (adj.) = เชิงวิจารณ์
criticize (v.) = วิพากษ์วิจารณ์
criticism (n.) = คำวิจารณ์
3. วิธีการจำคำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน ให้เลือกจำคำใดคำหนึ่งไปเลย
เช่น
expect (v.) = คาดหวัง
except (prep.) = ยกเว้น
ถ้าจะเลือกจำคำว่า expect (v.) = คาดหวัง ก็จำคำนี้เพียงคำเดียว และถ้าเจออีกคำที่เขียนคล้ายกัน คือ except ก็ต้องแปลว่ายกเว้น แน่นอน เพื่อแยกการจำคำศัพท์สลับกัน
4. นำสมุดคำศัพท์ที่จดตามข้อข้างต้นนั้น มาอ่านบ่อยๆ (ไม่ต้องท่อง ไม่ต้องใช้มือปิด) เพื่อที่จะได้ผ่านสายตาบ่อยๆ และที่สำคัญก็คือ ต้องดูและอ่านสมุดคำศัพท์นี้อย่างมีสมาธิและทำเช่นนี้บ่อยๆ
ข้อนี้สำคัญมากที่สุด เพราะจะทำให้นศ. สามารถจำคำศัพท์ที่จดไว้ได้ในระยะยาว และจำได้ขึ้นใจ หรืออ่านสมุดศัพท์นั้นให้ได้ทุกวันเลยยิ่งดี วันละเพียง 15 นาที แต่ให้ตั้งใจและมีสมาธิ โดยให้ นศ. ลองเริ่มทำสัก 1 สัปดาห์ นศ. ก็จะสามารถจำคำศัพท์เหล่านั้นได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องท่อง
